ที่ตั้ง : 249 หมู่ 9 ตำบลบ้านแหลม อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี  76110   สังกัด : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการมัธยมศึกษา เขต 10พื้นที่ :  59 ไร่ 2 งาน 8 ตารางวาโทรศัพท์ :  032-481141  โทรสาร :  032-450514  e-mail :   admin@blw.ac.thwebsite :   www.blw.ac.thคติธรรมประจำโรงเรียน :  จิตฺตํ ทนตํ สุขาวหํ จิตที่ฝึกดีแล้วนำสุขมาให้คำขวัญประจำโรงเรียน :  เรียนดี มีวินัยร่วมใจพัฒนา  ใฝ่หาคุณธรรมสีประจำโรงเรียน :  ฟ้า – เหลืองตราประจำโรงเรียน :  ตรารูปสมอเรือและเพชรอยู่ในจั่วบ้าน  ประกอบด้วย  - จั่วบ้าน และเพชร หมายถึง เราเป็นชาวบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี  - สมอเป็นสัญลักษณ์ของลูกทะเลอักษรย่อ :   บ.ล.ว.ต้นไม้ประจำโรงเรียน :  ต้นสนพระพุทธรูปประจำโรงเรียน :   หลวงพ่อทอง วัดเขาตะเคราเปิดทำการสอน :   ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1-3
              โรงเรียนบ้านแหลมวิทยา ตำบลบ้านแหลม อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เป็นโรงเรียนมัธยมประจำอำเภอ โดยกระทรวงศึกษาธิการได้อนุญาตให้เปิดโรงเรียนเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2501 มีเนื้อที่ทั้งหมด 10 ไร่เศษ ซึ่งสร้างอยู่ในที่ดินของวัดต้นสน ตำบลบ้านแหลม อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี                       พ.ศ. 2516 โรงเรียนได้รับการพิจารณาจากกรมสามัญศึกษาให้เข้าอยู่ในโครงการโรงเรียนมัธยมในชนบท (คมช.รุ่น 10) และเนื่องจากที่ดินเดิมคับแคบมากไม่สามารถขยายได้ จึงจำเป็นต้องหาที่ดินแห่งใหม่  กรมสามัญศึกษาได้อนุมัติเงินงบประมาณ 580,000 บาท ในการจัดซื้อที่ดินจำนวน 59 ไร่ 2 งาน 8 ตารางวา และในปีเดียวกันได้รับงบประมาณในการปลูกสร้างอาคารเรียนถาวร แบบ 216 จำนวน 1 หลัง สร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2517 จึงได้ย้ายนักเรียนบางส่วนมาเรียนที่โรงเรียนแห่งใหม่                พ.ศ. 2521 ได้รับงบประมาณการปรับปรุง มีอาคารเรียนถาวร แบบ 216 ก. เพิ่มอีก 1 หลัง พร้อมหอประชุมโรงอาหารและโรงฝึกงาน จึงได้ย้ายนักเรียนที่เหลือมาเรียนในที่แห่งใหม่ทั้งหมด เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2521 ส่วนสถานที่เรียนแห่งเดิมโรงเรียนวัดต้นสนขอใช้เรียนเป็นการชั่วคราว ต่อมาภายหลังได้โอนให้โรงเรียนวัดต้นสน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ               พ.ศ. 2533 กรมสามัญศึกษาได้อนุมัติให้โรงเรียนบ้านแหลมวิทยาเปิดทำการสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย               พ.ศ. 2536 กรมสามัญศึกษาได้อนุมัติให้โรงเรียนบ้านแหลมวิทยา เปิดทำการสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาพาณิชยกรรม               พ.ศ. 2545 ได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนเครือข่ายผู้บริหารต้นแบบ นายนคร  ตังคะพิภพ ผู้บริหารโรงเรียนเบญจมเทพอุทิศจังหวัดเพชรบุรี และในปีนี้ได้รับจัดสรรงบประมาณในการปรับซ่อมอาคารประกอบ 1 หลัง เป็นเงิน 600,000 บาท ซึ่งได้ปรับปรุงเป็นอาคารสำนักงานธุรการและห้องสมุด                พ.ศ. 2546 ได้รับคัดเลือกจากระทรวงศึกษาธิการ เข้าร่วมโครงการ 1 อำเภอ 1 โรงเรียนในฝัน และเข้าร่วมโครงการเรียนรู้สู่คุณภาพสถานศึกษาของสถาบันวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้ (โครงการ TOP STAR)               พ.ศ. 2549 โรงเรียนบ้านแหลมวิทยาได้รับการประเมินให้เป็นโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนในฝันของกระทรวงศึกษาธิการ               พ.ศ. 2555 ได้รับการประเมินเป็นโรงเรียนต้นแบบการจัดการเรียนรู้วิชาสหกรณ์               พ.ศ. 2555 ได้รับการประเมินเป็นโรงเรียนต้นแบบการดำเนินงานโรงเรียนธรรมจารีระดับดีมาก               พ.ศ. 2558 ได้รับรางวัลสุดยอดส้วมระดับเขต  จากสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี               พ.ศ. 2558 ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการหลักสูตรสถานศึกษาต้นแบบ จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต  10               พ.ศ. 2558 ได้รับการประเมินการขับเคลื่อนค่านิยมหลัก  12  ประการ สู่การปฏิบัติในสถานศึกษาระดับดีมาก
1. ส่งเสริมและพัฒนาระบบการบริหารการจัดการด้วยระบบคุณภาพสู่มาตรฐานสากล โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง2. ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนและพัฒนาให้นักเรียนเป็นผู้มีคุณลักษณะตามมาตรฐานการศึกษามีศักยภาพเป็นพลโลก ภายใต้แนวคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง3. ส่งเสริมพัฒนาครูและบุคลากรให้จัดการเรียนกาสอนเป็นมาตรฐานสากลบนพื้นฐานของความมีคุณภาพและจริยธรรม โดยน้อมนำแนวคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง4. ส่งเสริมพัฒนาการจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมมให้หลากหลายเอื้อต่อการเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนด้วยแหล่งเรียนรู้ที่เป็นคุณ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง5. ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพ คุณธรรม ให้โรงเรียนเป็นองค์กรทางการศึกษาที่สำคัญด้านคุณภาพ โอกาส ด้วยการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ภายใต้แนวคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
1.ด้านระบบบริหารและการจัดการศึกษา เร่งรัดปรับปรุงระบบบริหารโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยพัฒนาโรงเรียนให้เป็นโรงเรียนดีมีคุณภาพตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในศตวรรษที่ 21 2. ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน พัฒนาหลักสูตรทุกรายวิชาให้สอดคล้องกับนโยบายสพฐ.และเหมาะสมกับท้องถิ่น สร้างระบบประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนให้เป็นที่ยอมรับสู่มาตรฐานสากล3. ด้านบุคลากร พัฒนาบุคลากรให้เป็นบุคคลที่มีประสิทธิภาพ มีความรู้ความสามารถมีวิสัยทัศน์ก้าวไกล การทำงานมีระบบ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี4. ด้านอาคารสถานที่ บรรยากาศและสิ่งแวดล้อม พัฒนาพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนการสอน5. ด้านการมีส่วนร่วม ด้วยการกระจายอำนายโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานแบบการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ นำไปสู่ภาพแห่งความสำเร็จที่ว่า "โรงเรียนน่าอยู่ ครูดี นักเรียนมีคุณภาพ คุณธรรม ชุมชนร่วมใจ ใช้ประโยชน์ร่วมกัน"